1.การกระทำในข้อใด ที่ทำให้สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
ก.การปล่อยสารเคมีไว้ในภาชนะเปิด ภายในตู้ดูดควัน
ข.การถ่ายเทสารเคมีในปริมาณเท่าที่ต้องการใช้
ค.สวมถุงมือเมื่อต้องเทกรดความเข้มข้นสูงออกจากขวด
ง.การใช้เครื่องแก้วที่มีปากบิ่นเล็กน้อย
2. การระเหยตัวทำละลายภายในตู้ควัน ช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรายในห้องปฏิบัติการข้อใด
ก.ไฟไหม้
ข.การสูดดมไอของสารเคมี
ค.สารเคมีเข้าปาก
ง.การระเบิด
3. ข้อปฏิบัติใด เป็นการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดผิวหนังไหม้เกรียม
ก.การจับบีกเกอร์ที่มีน้ำร้อนลงจาก hot plate ด้วยมือเปล่า
ข.การเช็ดสารเคมีที่หกเลอะบนโต๊ะทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
ค.สารเคมีที่หกกระเด็นจากบีกเกอร์เพียงเล็กน้อย ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องรีบเช็ดทำความสะอาด
ง.เมื่อมีสารเคมีหกรดตัวเป็นบริเวณกว้าง ทำการชำระล้างโดยที่ล้างตัวฉุกเฉิน
4. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสารเคมีเข้าปากได้
ก.การใช้ลูกยางในการดูดสารเคมีเข้าปิเปต
ข.ถ้าสวมถุงมือขณะทำการทดลอง ไม่จำเป็นต้องล้างมือหลังทำการทดลองเสร็จ
ค.การโบกพัดไอของสารที่ต้องทดสอบด้วยการสูดดมเข้าหาจมูก
ง.ไม่ดื่มหรือกินของขบเคี้ยวในห้องปฏิบัติการ
5. อุปกรณ์ความปลอดภัยใดในห้องปฏิบัติการ ที่ใช้เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายมากและไม่สามารถจัดการด้วย ตนเองได้
ก.ที่ล้างตัวฉุกเฉิน
ข.เครื่องดับเพลิง
ค.สัญญาณเตือนภัย
ง.ตู้ดูดควัน
6. ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจำเป็นต้องอพยพคนออกจากอาคาร ควรปฏิบัติตามข้อใด
ก.ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่ก่อนออกจากห้อง
ข.ถ้าลิฟท์ยังทำงาน ขึ้นลิฟท์เพื่อลงมาชั้นล่าง
ค.รีบวิ่งลงบันได ทางประตูฉุกเฉิน
ง.นำชุดปฐมพยาบาลติดตัวลงมาด้วย เผื่อใช้
7. ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติทั่วไปที่ควรทำในห้องปฏิบัติการ
ก.นำกระเป๋าและสิ่งของต่างๆ เข้ามาในห้องปฏิบัติการให้หมด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัย
ข.วิ่งเล่นในห้องปฏิบัติการ
ค.ไม่สัมผัสและสูดดมสารเคมีโดยตรง
ง.ทำการทดลองนอกเหนือจากคู่มือปฏิบิติการหรือที่อาจารย์กำหนด
8. การแต่งกายในข้อใด ไม่เหมาะสมในการเข้าทำปฏิบัติการ
ก.ใส่รองเท้าที่ปิดด้านหน้ามิดชิด แต่เปิดส้นได้
ข.ผู้หญิงที่ไว้ผมยาว ทำการรวบผูกไว้หลังศีรษะ
ค.สวมเสื้อที่หลวมจนเกินไป
ง.สวมแว่นตาแทนคอนแทกเลนส์
9. ข้อใดไม่ใช่แหล่งข้อมูลในการหาสมบัติกายภาพและอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
ก.Merck Index
ข.Handbook of Chemistry and Biology
ค.Material Safety Data Sheet
ง.MSDS
10. ระหว่างทำการทดลอง ไม่ควรปฏิบัติตามข้อใด
ก.ถ้าใช้สารที่มีความเป็นพิษสูง ทำการทดลองในตู้ดูดควัน หรือบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี
ข.ก่อนผสมสารเคมีใดๆ อ่านชื่อที่ฉลากบนขวดหรือภาชนะให้แน่ใจว่าหยิบถูกต้องแล้ว
ค.ก่อนเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรตรวจสอบว่าสายไฟไม่ชำรุด
ง.สามารถอุ่นตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นสารไวไฟ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์ โดยตั้งบนเตาไฟฟ้า โดยตรงได้
💖เฉลยข้อสอบ
1. ง
2. ข
3. ง
4. ข
5. ค
6. ก
7. ค
8. ก
9. ข
10. ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น