ข้อสอบบทที่ 3 พันธะเคมี
1. ผลึกไอออนิกแตกหักเมื่อมีแรงเข้าไปกระทำเพราะเหตุใด
ก. ประจุชนิดเดียวกันผลักกัน
ข. อิเล็กตรอนหลุดออกจากผลึก
ค. จำนวนประจุบวกและลบไม่เท่ากัน
ง. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วขึ้น เนื่องจากมีพลังงานจลน์มากขึ้น
2. ธาตุ X มีเลขอะตอม 53 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. X รวมตัวกับโลหะปรอทแล้วจะมีสูตรเคมีเป็น Hg2X2
2. X เมื่อเป็นไอออนจะมีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 2 8 18 18 8
3. X เมื่อเป็นไอออนจะมีรัศมีไอออนเล็กกว่าไอออนของธาตุที่มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น
2 8 18 18 8 1
ข้อใดถูกต้อง
ก. 1 และ 2
ข. 2 และ 3
ค. 1 และ 3
ง. 2
3. จุดหลอมเหลวของ MgO สูงกว่า NaF เนื่องจากสาเหตุใดต่อไปนี้
1. Mg2+ มีประจุบวกสูงกว่า Na+
2. O2- มีประจุลบสูงกว่า F-
3. O2- ใหญ่กว่า F-
ก. ข้อ 2 เท่านั้น
ข. ข้อ 1 และ 2
ค. ข้อ 1 และ 3
ง. ข้อ 1 , 2 และ 3
4. ข้อใดผิดเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของสารชนิดต่างๆ
ก. การนำไฟฟ้าของสารประกอบไอออนิกในสถานะของเหลวเกิดจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนจากไอออนบวกให้ไอออนลบ
ข. การนำไฟฟ้าของโลหะเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่มีพลังงานจลน์สูง
ค. แกรไฟต์ซึ่งเป็นอัญรูปหนึ่งของคาร์บอนนำไฟฟ้าได้เนื่องจาก การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
ง. สารกึ่งตัวนำ จะนำไฟฟ้าได้ก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานจำนวนหนึ่งแล้วทำให้อิเล็กตรอนเกิดการเปลี่ยนระดับพลังงาน
พลังงานในข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยานี้
ก. พลังงานแลตทิช
ข. พลังงานการระเหิดของ Ca
ค. พลังงานไอออไนเซชั่นของธาตุออกซิเจน
ง. พลังงานการสลายพันธะของธาตุออกซิเจน
6. พิจารณาวัฏจักร Born-Haber สำหรับการเกิดเฮไลด์ของธาตุสมมติ A(AXn)
a. X2 (s) ----> X2 (l) ∆H1
b. X2 (l) ----> X2 (g) ∆H2
c. X2 (g) ----> 2X (g) ∆H3
d. X (g) + e- ----> X- (g) ∆H4
e. A (s) ----> A (g) ∆H5
f. A (g) ----> An+ (g) + ne- ∆H6
g. An+ (g) + nX- (g) ----> AXn (s) ∆H7
ถ้าพบว่า A (s) + n/2 X2 ----> AXn (s) มีค่า ∆H = ∆H2 + ∆H3 + 2∆H4 + ∆H5 + ∆H6 + ∆H7
สารประกอบ AXn ควรเป็นข้อใด
ก. CaCl3
ข. CaBr2
ค. AlCl3
ง. AlBr3
7. การเกิดสารประกอบ Na2O เกี่ยวข้องกับพลังงานในขั้นตอนต่างๆดังนี้
(I) Na (s) ----> Na (g) ∆H = E1 kJ
(II) Na (g) ----> Na+ (g) + e- ∆H = E2 kJ
(III) O2 (g) ----> 2O (g) ∆H = E3 kJ
(IV) O (g) + 2e- ----> O2- (g) ∆H = E4 kJ
(V) 2Na+ (g) + O2- (g) ----> Na2O (s) ∆H = E5 kJ
จากข้อมูลนี้ข้อใดผิด
ก. E2 มีค่ามากกว่า IE1 ของ 19K
ข. ขั้นที่ IV และ V เป็นขั้นตอนที่คายพลังงาน
ค. ขั้นที่ I , II , III เป็นขั้นตอนที่ดูดพลังงาน
ง. พลังงานแลตทิชมีค่าเท่ากับ E1 + 2E2 + E3/2 + E4 + E5
8. ข้อใดไม่ใช่สมการที่อยู่ในวัฏจักรพลังงานการละลายน้ำของ NaNO3 (s)
ก. NaNO3 (s) ----> Na+ (g) + NO3- (g)
ข. Na+(g) ----> Na+ (aq)
ค. NO3- (g) ----> NO3- (aq)
ง. NaNO3 (g) ----> Na+ (g) + NO3- (g)
9. โมเลกุลในข้อใดมีโครงสร้างเหมือนกันทั้งหมด
ก. CO2 SO2 CS2
ข. NH3 PH3 SO3
ค. CO2 N2 N3-
ง. CCl4 (SO4)2- XeF4
10. สารประกอบโคเวเลนต์ ข้อใดมีรูปร่างเหมือนกันทั้งหมด
ก. CCl4 NH4+ XeF4
ข. BF3 NH3 PCl3
ค. BrF5 PCl5 IF5
ง. H2O SO2 O3
💖เฉลย
1. เฉลย ก. เพราะ ประจุแต่ละชนิดจะต้องผลักกันตามหลักของขั้ว
2. เฉลย ก. เพราะ สารประกอบปรอทสามารถมีสูตรเป็น Hg2Cl2 , Hg2I2 ได้
3. เฉลย ข. เพราะ 1.ประจุที่สูงกว่าจะทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวได้มากกว่า จุดหลอมเหลวจึงสูงกว่า
2. ขนาด O2- ที่ใหญ่กว่า F- ทำให้โครงร่างผลึกห่างจากกันมากแรงยึดเหนี่ยวจะอ่อนลง ไม่ได้ทำให้จุดหลอมเหลวของ MgO สูงกว่า NaF
4. เฉลย ก. เพราะ การนำไฟฟ้าของไอออนิกเป็นการเคลื่อนที่ของไอออน ไม่ใช่การถ่ายเทอิเล็กตรอน
5. เฉลย ค. เพราะ Ca (s) + 1/2O2 ----> CaO (s) พลังงานในการเกิดมี 5 ขั้นตอน พลังงานไอออไนโซชันเกิดกับธาตุ Ca ไม่เกิดกับธาตุออกซิเจน
6. เฉลย ข. เพราะ จากสมการรวมทั้งหมด (∆H) ไม่เกี่ยวข้องกับ ∆H1 แสดงว่า X ต้องเป็นของเหลวในที่นี้คือ Br2 และจากสมการ d ต้องใช้พลังงานเท่ากับ 2 ∆H4 แสดงว่า Br ต้องมี 2 อะตอม
7. เฉลย ง. เพราะ พลังงานแลตทิช มีค่าเท่ากับ E5
8. เฉลย ง. เพราะ ข้อ ก. เป็นปฏิกิริยาแสดงพลังงานแลตทิช
ข้อ ข , ค เป็นปฏิกิริยาไฮเดรชันของไอออนบวกและไอออนลบ
ข้อ ง. ผิดเพราะ NaNo3 ต้องมีสถานะของแข็งไม่ใช่แก๊ส
9. เฉลย ค. เพราะ ทุกตัวมีรูปร่างเป็นเส้นตรง
10.เฉลย ง. เพราะ ทุกตัวเป็นรูปมุมงอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น