วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ตารางธาตุ


 

บทที่ 1 ความปลอดภัยเเละทักษะในการทำงานกับสารเคมี

บทที่ 1 ความปลอดภัยเเละทักษะในปฎิบัติการเคมี

1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
            การทำปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ซึ่งผู้ทำการปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมโดยผู้ทำการปฏิบัติการควร ทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้ข้อควรปฏิบัติในการทำการปฏิบัติการเคมีและการกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้วหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติการเพื่อให้สามารถทำปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย
            1.1.1 ประเภทของสารเคมี
             สารเคมี มีหลายประเภทแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป สารเคมีจึงจำเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูล เกี่ยวกับความอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ โดย ฉลากของสารเคมีที่ใช้ใน ห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูลดังนี้ 
            1.ชื่อผลิตภัณฑ์
            2.รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี 
            3.คำเตือนข้อมูลความเป็นอันตรายและข้อควรระวัง 
            4.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
            
   ตัวอย่างของฉลาก

            บนฉลากบรรจุภัณฑ์จะมีสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตราย ที่สื่อความหมายได้ชัดเจนในที่นี้จะกล่าวถึง สองระบบ ได้แก่ Globally Harmonized System of classification and labelling of chemicals (GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และ National fire protection association hazard identification system (NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา


ตัวอย่างสัญลักษณ์เเสดงความเป็นอันตรายในระบบ GHS
 
            สัญลักษณ์เเสงอันตรายจากสารเคมีในระบบ NFPA
ใช้สีแทนความเป็นอันตรายในด้านต่างๆ ได้แก่
  • สีแดง        บอกถึงความไวไฟ 
  • สีน้ำเงิน     บอกถึงความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • สีเหลือง    บอกถึงความไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี 
  • สีขาว        บอกถึงคุณสมบัติพิเศษของสาร
โดยเศษตัวเลข 0-4 เพื่อระบุระดับความเป็นอันตรายจากน้อยไปหามาก
  • 0               ไม่เกิดอันตราย
  • 1               อันตรายน้อย
  • 2               อันตรายปานกลาง
  • 3               อันตรายมาก
  • 4               อันตรายร้ายเเรง

               1.1.2 ข้อควรปฎิบัติในการทำปฎิบัติการเคมี
              การทำปฏิบัติการเคมีให้เกิดความปลอดภัยนอกจากต้องทราบข้อมูลของสารเคมีที่ใช้แล้ว ผู้ทำปฏิบัติการ ควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเบื้องต้นทั้งก่อน ระหว่าง และหลังทำปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้  
            ก่อนทำการปฏิบัติการ 
            1) ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยต้อง สอบถามครูผู้สอนก่อนที่จะทำการทดลอง 
            2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการ ทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย 
            3) แต่งกายให้เหมาะสม เช่น สวมกางเกงหรือกระโปรงยาว สวมรองเท้ามิดชิดส้นเตี้ย คนที่มีผมยาวควร รวบผมให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับและคอนแทคเลนส์ขณะทำปฏิบัติการ 
           ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป 
         1)สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ด ควรสวมถุงมือเมื่อ ต้องใช้สารกัด กร่อนหรือสารที่มีอันตราย ควรสวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีไอระเหย และทำปฏิบัติการในที่ซึ่งมีอากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
          
         เครื่องเเต่งกายในห้องปฏิบัติการ
  • ถ้าผมยาวควรมัดผมให้เรียบร้อย
  • สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการ
  • สวมเเว่นตา (Safety goggles)  เพื่อป้องกันการกระเซ็นของสารเคมี
  • สวมใส่กน้ากากอนามัย เพื่อลดการสูดดมไอจากสารเคมี
  • สวมถุงมือ
  • สวมรองเท้าหุ้มส้น

           2) ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำปฏิบัติการ 
          3) ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลำพังเพียงคนเดียวเพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะไม่มีใครทราบและไม่อาจช่วยได้ทันท่วงที หากเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ ต้องแจ้งให้ครูผู้สอน ทราบทันทีทุกครั้ง 4 ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะที่ทำปฏิบัติการ 
          5) ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัดไม่ทำการทดลองใด ๆ ที่นอกเหนือ จากที่ได้รับ มอบหมาย และไม่เคลื่อนย้ายสารเคมี เครื่องมือ และอุปกรณ์ส่วนกลางที่ต้องใช้ร่วมกันนอกจากได้รับอนุญาต จากครูผู้สอนเท่านั้น
         6) ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน เช่น ตะเกียงแอลกอฮอล์ เตาแผ่นให้ความร้อน (hot plate) ทำงานโดยไม้มีคนดูแล และหลังจากใช้งานเสร็จแล้วให้ดับตะเกียงแอลกอฮอล์หรือปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟ ออกทันที แล้วปล่อยไว้ให้เย็นก่อนการจัดเก็บ เมื่อใช้เตาแผ่นให้ความร้อนต้องระวังไม่ให้สายไฟพาดบนอุปกรณ์
        ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี 
        1) อ่านชื่อสารให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ 
        2) เคลื่อนย้ายสารเคมีด้วยความระมัดระวัง 
        3) หันปากหลอดทดลองออกจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ 
        4) ห้ามชิมสารเคมี  
        5) การเจือจางกรด ห้ามเทน้ำลงกรดเเต่ให้เทกรดลงน้ำ เพื่อให้น้ำปริมาณมากช่วยถ่ายเทความร้อนที่เกิดจากการละลาย 
        6) ไม่เก็บสารเคมีที่เหลือเข้าขวดเดิม 
        7) เมื้อทำสารเคมีหกในปริมาณในปริมาณเล็กน้อยให้กวาดหรือเช็ด เเล้วทิ้งลงในภาชนะสำหรับทิ้ง
สารที่เตรียมไวเในห้องปฏิบัติการ  หากหกในปริมาณมากให้เเจ้งครุูผู้สอน
        หลังทำปฏิบัติการ 
        1) ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ 
        2) ก่อนออกจากห้องให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
        1.1.3 การกำจัดสารเคมี 
         การกำจัดสารเคมีแต่ละประเภทสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 
        1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายเป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำได้เลย 
        2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ 
        3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด ก่อนทิ้งในที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ 
        4) สารไวไฟ สารประกอบของโลหะเป็นพิษห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ
       1.1.4  การทำความสะอาดบริเวณที่ปนเปื้อนสารเคมี 
         สารเคมีที่ใช้ในการทำปฏิบัติการจะมีสมบัติและอันตรายแตกต่างกันผู้ทำปฏิบัติการจึงควรมี ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำความสะอาดบริเวณที่อาจมีการปนเปื้อนของสารเคมีเพื่อป้องกัน อันตรายจากสารเคมีนั้น ซึ่งข้อแนะนำในการทำความสะอาดบริเวณที่ปนเปื้อนสารเคมีมีดังนี้ 
        1) สารที่เป็นของแข็งควรใช้แปรงกวาดสารรวมกันตักสารใส่กระดาษแข็งแล้วนำไปทำลาย 
        2) สารละลายกรดควรใช้นำล้างบริเวณที่มีสารละลายหกเพื่อทำให้กรดเจือจางและใช้สารละลาย โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเจือจางล้างเพื่อทำลายสภาพกรด แล้วล้างด้วยน้ำอีกครั้ง 
        3) สารละลายเบส ควรใช้น้ำล้างบริเวณที่มีสารละลายหกและซับน้ำให้แห้ง เนื่องจาก สารละลายเบสที่หกบนพื้นจะทำให้พื้นบริเวณนั้นลื่น จึงควรทำความสะอาดลักษณะดังกล่าว หลายๆ ครั้ง และถ้ายังไม่หายลื่นอาจต้องใช้ทรายโรย แล้วเก็บกวาดทรายออก 
        4) สารที่เป็นน้ำมัน ควรใช้ผงซักฟองล้างสารที่เป็นน้ำมันและไขมันจนหมดคราบน้ำมัน และพื้นบริเวณนั้นหายลื่น หรือทำความสะอาดโดยใช้ทรายโรยเพื่อซับน้ำมันให้หมดไป 
        5) สารที่ระเหยง่าย ควรใช้ผ้าเช็ดบริเวณที่สารหยดหลายๆ ครั้งจนแห้ง และในขณะเช็ดถู ต้องมีการป้องกันไม่ให้สารนั้นสัมผัสผิวหนัง หรือสูดไอของสารเข้าร่างกาย 
        6) สารปรอท กวาดสารปรอทรวมกัน แล้วใช้เครื่องดูดเก็บรวบรวมไว้ ในกรณีที่บริเวณ ที่สารปรอทหกมีรอยแตกหรือรอยร้าวจะทำให้มีสารปรอทแทรกเข้าไปอยู่ข้างใน จึงต้องปิดรอย แตกหรือรอยร้าวนั้นด้วยการทาขี้ผึ้งทับรอยดังกล่าวเพื่อป้องกันการระเหยของปรอท หรืออาจใช้ ผงกำมะถันโรยบนปรอทเพื่อให้เกิดสารประกอบซัลไฟด์แล้วเก็บกวาดอีกครั้งหนึ่ง


บทที่ 2 อะตอมเเละสมบัติของธาตุ

 บทที่ 2 อะตอมเเละสมบัติของธาตุ

 2.1 เเบบจำลองอะตอม

          อะตอมมีขนาดเล็กมากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แบบจำลองของอะตอมจึงมีวิวัฒนาการดังนี้

           2.1.1 แบบจำลองอะตอมของจอร์น ดอลตัน

 

            ในปี พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) จอห์น ดอลตัน (John Dalton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอมเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

            1) ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆหลายอนุภาคเรียกอนุภาคเหล่านี้ว่า “อะตอม” ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้

            2) อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน แต่จะมีสมบัติ แตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น 

            3) สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยา เคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ 

            จอห์น ดอลตัน ชาวอังกฤษ เสนอทฤษฎีอะตอมของดอลตัน 

  •  อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด แบ่งแยกอีกไม่ได้
  •  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน
  •  อะตอมต้องเกิดจากสารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกัน ทางเคมี

            ทฤษฎีอะตอมของดอลตันใช้อธิบายลักษณะและสมบัติของอะตอมได้เพียงระดับหนึ่ง แต่ต่อมานักวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อมูลบางประการที่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีอะตอมของ ดอลตัน เช่น พบว่าอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีมวลแตกต่างกันได้  

 ลักษณะแบบจำลองอะตอมของดอลตัน



ลักษณะอะตอมเป็นทรงตันขนาดเล็ก ที่สร้างขึ้นใหม่หรือทำลายไม่ได้ เปรียบเสมือนลูกเปตอง

            เเต่เเบบจำลองอะตอมของดอลตันไม่สามารถอธิบายได้ว่า.....
  • ทำไมอะตอมต่างชนิดกัน จึงไม่เหมือนกัน
  • ทำไมอะตอมต่างๆ จึงทำปฏิกิริยากับบางธาตุเท่านั้น
  • อะตอมรวมกันเกิดสารประกอบได้อย่างไร  มีเเรงยึดเหนี่ยวอย่างไร
  • ทำไมอะตอมชนิดเดียวกันจึงมีคุณสมบัติเเตกต่างกัน
          เป็นเหตุให้มีนักวิทยาศาสตร์ศึกษาต่อ
        
   
            

บทที่ 3 พันธะเคมี

บทที่ 3 พันธะเคมี

               พันธะเคมี (Chemical Bonding) คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคมูลฐานหรืออะตอม (Atom) ซึ่งเป็นการดึงดูดเข้าหากัน เพื่อสร้างเสถียรภาพในระดับโมเลกุล จนเกิดเป็นสสารหรือสารประกอบที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากขึ้นในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อากาศ พื้นดิน ก้อนหิน ต้นไม้ รวมไปถึงเนื้อเยื่อและร่างกายของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทุกสสารในจักรวาลล้วนถูกสร้างขึ้นจากการรวมตัวกันของอนุภาคพื้นฐานขนาดเล็กเหล่านี้

               พันธะเคมี เป็นแรงดึงดูดที่เกิดขึ้นจากความไม่เสถียรของอะตอมหรือธาตุต่าง ๆ ในธรรมชาติ ซึ่งกว่า 90 ธาตุที่พบในธรรมชาติ มีเพียงธาตุในหมู่ VIIIA หรือก๊าซเฉื่อย (Inert Gas) เท่านั้นที่สามารถคงอยู่ในรูปของอะตอมอิสระ  จากการมีอิเล็กตรอนวงนอกสุดเต็มตามจำนวนในแต่ละระดับชั้นของพลังงาน หรือ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน (Valence Electron) ครบ 8 ตัว ทำให้โครงสร้างของอะตอมมีความเสถียรในตัวเองสูง

3.1 สัญลักษณ์เเบบจุดของลิวอีสเเละกำออกเตต 

                พัฒนาการของตารางธาตุ  ตลอดจนแนวคิดของการจัดอิเล็กตรอน  ช่วยให้นักเคมีสามารถอธิบายการเกิดโมเลกุลหรือสารประกอบได้อย่างมีเหตุผล  กิลเบิร์ต ลิวอิส (Gilbert Newton Lewis)  เสนอว่า  อะตอมรวมตัวกันเพื่อทำให้เกิดการจัดอิเล็กตรอนที่มีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น  โดยเสถียรภาพมีค่ามากที่สุดเมื่ออะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนในธาตุเฉื่อย  เมื่ออะตอมรวมกันเกิดเป็นพันธะเคมี  อิเล็กตรอนระดับนอกหรือที่เรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะเคมี  นักเคมีใช้สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส   ในการนับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนระหว่างปฏิกิริยา  และเพื่อให้แน่ใจว่าจำนวนอิเล็กตรอนมีค่าคงที่  สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส  ประกอบด้วยสัญลักษณ์  ธาตุ  และจุด 1 จุด แทน 1 เวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมธาตุนั้น เช่น โลหะในหมู่  I Aซึ่งมีเวเลนซ์ อิเล็กตรอน 1 ตัว  จะมีสัญลักษณ์ ดังนี้

58

ตารางที่ 2  แสดงสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของธาตุ


                กฎออกเตต (Octet rule) 
                ลิวอิส  ได้เสนอกฎออกเตต ซึ่งกฎนี้กล่าวว่า อะตอมต่าง ๆ นอกจากไฮโดรเจนมีแนวโน้มจะสร้างพันธะ  เพื่อให้มีอิเล็กตรอนระดับนอกครบแปด  อะตอมจะสร้างพันธะโคเวเลนต์ เมื่อมีอิเล็กตรอนระดับนอกไม่ครบ 8 อิเล็กตรอน  (เรียกว่า ไม่ครบออกเตต)  การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันในพันธะโคเวเลนต์  จะทำให้อะตอมมีอิเล็กตรอนครบออกเตตได้  ยกเว้นไฮโดรเจนจะสร้างพันธะเพื่อให้มีการจัดอิเล็กตรอนระดับนอกเหมือนธาตุฮีเลียม  คือ  มี  2  อิเล็กตรอน เช่น
76           กฎออกเตตใช้ได้ดีกับธาตุในคาบที่ 2 ของตารางธาตุ  ซึ่งธาตุเหล่านั้นมีอิเล็กตรอนระดับนอกอยู่ใน  2s  และ 2p ออร์บิทัล  ซึ่งรับอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 8 อิเล็กตรอน
                 ข้อยกเว้นของกฎออกเตต
                1) กรณีโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนเกินแปด ธาตุบางธาตุในคาบที่ 3 เช่น ฟอสฟอรัส (P) หรือ กำมะถัน (S) สามารถมีอิเล็กตรอนระดับนอกได้เกิน 8 ตัว (เพราะจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน  n = 3  มีอิเล็กตรอนได้สูดสุด 18 ตัว)  จึงทำให้ฟอสฟอรัสและกำมะถัน  สามารถสร้างพันธะโคเวเลนต์  โดยใช้อิเล็กตรอนมากกว่า 8 ตัว ได้ เช่น ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์  (PCl5)
 77

                   2) กรณีของโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนไม่ครบแปดในสารประกอบบางชนิด อะตอมกลางของโมเลกุลที่เสถียรมีอิเล็กตรอนไม่ครบ  8  อิเล็กตรอน  เช่น โบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF)
78


ข้อสอบบทที่ 1 ความปลอดภัยเเละทักษะในปฏิบัติการเคมี

ข้อสอบบทที่ 1 ความปลอดภัยเเละทักษะในปฏิบัติเคมี
  
1.การกระทำในข้อใด ที่ทำให้สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
  ก.การปล่อยสารเคมีไว้ในภาชนะเปิด ภายในตู้ดูดควัน
  ข.การถ่ายเทสารเคมีในปริมาณเท่าที่ต้องการใช้
  ค.สวมถุงมือเมื่อต้องเทกรดความเข้มข้นสูงออกจากขวด
  ง.การใช้เครื่องแก้วที่มีปากบิ่นเล็กน้อย

2. การระเหยตัวทำละลายภายในตู้ควัน ช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรายในห้องปฏิบัติการข้อใด
  ก.ไฟไหม้
  ข.การสูดดมไอของสารเคมี
  ค.สารเคมีเข้าปาก
  ง.การระเบิด

3. ข้อปฏิบัติใด เป็นการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดผิวหนังไหม้เกรียม
  ก.การจับบีกเกอร์ที่มีน้ำร้อนลงจาก hot plate ด้วยมือเปล่า
  ข.การเช็ดสารเคมีที่หกเลอะบนโต๊ะทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
  ค.สารเคมีที่หกกระเด็นจากบีกเกอร์เพียงเล็กน้อย ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องรีบเช็ดทำความสะอาด
  ง.เมื่อมีสารเคมีหกรดตัวเป็นบริเวณกว้าง ทำการชำระล้างโดยที่ล้างตัวฉุกเฉิน

4. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสารเคมีเข้าปากได้
  ก.การใช้ลูกยางในการดูดสารเคมีเข้าปิเปต
  ข.ถ้าสวมถุงมือขณะทำการทดลอง ไม่จำเป็นต้องล้างมือหลังทำการทดลองเสร็จ
  ค.การโบกพัดไอของสารที่ต้องทดสอบด้วยการสูดดมเข้าหาจมูก
  ง.ไม่ดื่มหรือกินของขบเคี้ยวในห้องปฏิบัติการ

5. อุปกรณ์ความปลอดภัยใดในห้องปฏิบัติการ ที่ใช้เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายมากและไม่สามารถจัดการด้วย ตนเองได้
  ก.ที่ล้างตัวฉุกเฉิน
  ข.เครื่องดับเพลิง
  ค.สัญญาณเตือนภัย
  ง.ตู้ดูดควัน

6. ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจำเป็นต้องอพยพคนออกจากอาคาร ควรปฏิบัติตามข้อใด
  ก.ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่ก่อนออกจากห้อง
  ข.ถ้าลิฟท์ยังทำงาน ขึ้นลิฟท์เพื่อลงมาชั้นล่าง
  ค.รีบวิ่งลงบันได ทางประตูฉุกเฉิน
  ง.นำชุดปฐมพยาบาลติดตัวลงมาด้วย เผื่อใช้

7. ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติทั่วไปที่ควรทำในห้องปฏิบัติการ
  ก.นำกระเป๋าและสิ่งของต่างๆ เข้ามาในห้องปฏิบัติการให้หมด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัย
  ข.วิ่งเล่นในห้องปฏิบัติการ
  ค.ไม่สัมผัสและสูดดมสารเคมีโดยตรง
  ง.ทำการทดลองนอกเหนือจากคู่มือปฏิบิติการหรือที่อาจารย์กำหนด

8. การแต่งกายในข้อใด ไม่เหมาะสมในการเข้าทำปฏิบัติการ
  ก.ใส่รองเท้าที่ปิดด้านหน้ามิดชิด แต่เปิดส้นได้
  ข.ผู้หญิงที่ไว้ผมยาว ทำการรวบผูกไว้หลังศีรษะ
  ค.สวมเสื้อที่หลวมจนเกินไป
  ง.สวมแว่นตาแทนคอนแทกเลนส์

9. ข้อใดไม่ใช่แหล่งข้อมูลในการหาสมบัติกายภาพและอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
  ก.Merck Index
  ข.Handbook of Chemistry and Biology
  ค.Material Safety Data Sheet
  ง.MSDS

10. ระหว่างทำการทดลอง ไม่ควรปฏิบัติตามข้อใด
  ก.ถ้าใช้สารที่มีความเป็นพิษสูง ทำการทดลองในตู้ดูดควัน หรือบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี
  ข.ก่อนผสมสารเคมีใดๆ อ่านชื่อที่ฉลากบนขวดหรือภาชนะให้แน่ใจว่าหยิบถูกต้องแล้ว
  ค.ก่อนเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรตรวจสอบว่าสายไฟไม่ชำรุด
  ง.สามารถอุ่นตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นสารไวไฟ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์ โดยตั้งบนเตาไฟฟ้า โดยตรงได้

💖เฉลยข้อสอบ
1.     
2.     
3.     
4.     ข 
5.     
6.     
7.     
8.     
9.     
10.    
  

ข้อสอบบที่ 2 อะตอมเเละสมบัติของธาตุ

ข้อสอบบที่ 2 อะตอมเเละสมบัติของธาตุ

1. อะตอมประกอบไปด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอนในจำนวนที่เท่า ๆ กัน คือ แบบจำลองอะตอมของใคร

     ก.  ดอลตัน

     ข.  ทอมสัน

     ค.  รัทเทอร์ฟอร์ด

     ง.  โบร์

2.  ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก. ธาตุต่างชนิดกันมีมวลต่างกันหรือมีนิวตรอนต่างกันเรียกว่าไอโซโทป

ข.  มวลของอะตอม คือ มวลของโปรตอนกับอิเล็กตรอนในนิวเคลียส

ค.  มวลของอะตอม คือ มวลของโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียส

ง. เลขอะตอมจะบอกถึงจำนวนโปรตอนและจำนวนนิวตรอนในอะตอม

3.  อนุภาคข้อใดที่มีมวลใกล้เคียงกัน

    ก.  โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน

    ข.  โปรตอนกับอิเล็กตรอน

    ค.  นิวครอนกับอิเล็กตรอน

     ง.  โปรตอนกับนิวตรอน

4.  ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

  ก.โปรตอนและอิเล็กตรอนรวมกันเป็นนิวเคลียสของอะตอม

  ข.นิวเคลียสมีขนาดเล็กมากและมีมวลมากภายในประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน

  ค.  นิวเคลียสเป็นกลางทางไฟฟ้าเพราะประจุของโปรตอนกับของอิเล็กตรอนเท่ากัน

  ง. อะตอมของธาตุประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนกระจัดกระจายอยู่ภายในด้วยจำนวนเท่ากัน

5.  เลขอะตอมของธาตุ คือข้อใด

            ก.  จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุ

            ข.  จำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุ

            ค.  จำนวนนิวครอนในอะตอมของธาตุ

            ง.  จำนวนโปรตอนกับนิวตรอนในอะตอมของธาตุ


 6.  ธาตุ P มีเลขอะตอม 15 มีนิวตรอน 16 จะมีเลขมวล โปรตอน และอิเล็กตรอนเท่าไรตามลำดับ

            ก.  31,  15,  15

            ข.  31,  16,  15

            ค.  16,  15,  15

            ง.  15,  31,  16

7.  ข้อใดอธิบายความหมายไอโซโทปของธาตุได้ถูกต้อง

            ก.  ธาตุชนิดเดียวกัน เลขมวลเหมือนกันแต่เลขอะตอมต่างกัน

            ข.  ธาตุชนิดเดียวกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน

            ค.  ธาตุต่างชนิดกันมีเลขอะตอมเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน

            ง.  ธาตุต่างชนิดกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน

8.  ธาตุโซเดียม (Na) มีเลขอะตอมเท่ากับ 11 จะมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังข้อใด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปอะตอม     



      

            ก.  2, 9

            ข.  2,  8,  1

            ค.  2,  6,  5

            ง.  1,  8,  2 

9.  ข้อใดบอกความหมายของเลขมวลได้ถูกต้อง

            ก.  จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม

            ข.  มวลรวมของนิวตรอนโปรตอน และอิเล็กตรอนในอะตอม

            ค.  มวลรวมของนิวตรอนและโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม

            ง.  มวลรวมของโปรตอน และอิเล็กตรอนในนิวเคลียสของอะตอม

10.  ธาตุคลอรีน (CI) มีเลขอะตอม 17 จะอยู่ในคาบและหมู่ละที่เท่าไรของตารางธาตุ

      ก.  คาบ 3 หมู่ 7

      ข.  คาบ 7 หมู่ 3

      ค.  คาบ 2 หมู่ 7

      ง.  คาบ 3 หมู่ 8

💖เฉลยข้อสอบ

1.   ข

2.   ค

3.    ง

4.    ข

5.    ข

6.    ก

7.    ข

8.    ข

9.     ค

10.  ก

ข้อสอบบทที่ 3 พันธะเคมี

ข้อสอบบทที่ 3 พันธะเคมี

1. ผลึกไอออนิกแตกหักเมื่อมีแรงเข้าไปกระทำเพราะเหตุใด 

        ก. ประจุชนิดเดียวกันผลักกัน

        ข. อิเล็กตรอนหลุดออกจากผลึก

        ค. จำนวนประจุบวกและลบไม่เท่ากัน

        ง. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วขึ้น เนื่องจากมีพลังงานจลน์มากขึ้น


2. ธาตุ X มีเลขอะตอม 53 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้

      1. X รวมตัวกับโลหะปรอทแล้วจะมีสูตรเคมีเป็น Hg2X2

      2. X เมื่อเป็นไอออนจะมีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 2  8  18  18  8

      3. X เมื่อเป็นไอออนจะมีรัศมีไอออนเล็กกว่าไอออนของธาตุที่มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 

          2  8  18  18  8  1

ข้อใดถูกต้อง

        ก. 1 และ 2

        ข. 2 และ 3

        ค. 1 และ 3

        ง. 2

3. จุดหลอมเหลวของ MgO สูงกว่า NaF เนื่องจากสาเหตุใดต่อไปนี้ 

      1. Mg2+ มีประจุบวกสูงกว่า Na+

      2. O2- มีประจุลบสูงกว่า F-

      3. O2- ใหญ่กว่า F-

        ก. ข้อ 2 เท่านั้น

        ข. ข้อ 1 และ 2

        ค. ข้อ 1 และ 3

        ง. ข้อ 1 , 2 และ 3

4. ข้อใดผิดเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของสารชนิดต่างๆ 

        ก. การนำไฟฟ้าของสารประกอบไอออนิกในสถานะของเหลวเกิดจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนจากไอออนบวกให้ไอออนลบ

        ข. การนำไฟฟ้าของโลหะเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่มีพลังงานจลน์สูง

        ค. แกรไฟต์ซึ่งเป็นอัญรูปหนึ่งของคาร์บอนนำไฟฟ้าได้เนื่องจาก การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน

        ง. สารกึ่งตัวนำ จะนำไฟฟ้าได้ก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานจำนวนหนึ่งแล้วทำให้อิเล็กตรอนเกิดการเปลี่ยนระดับพลังงาน


5. พิจารณาปฏิกิริยา Ca (s) + 1/2 O2 (g) ------>   CaO (s)

      พลังงานในข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยานี้ 

        ก. พลังงานแลตทิช

        ข. พลังงานการระเหิดของ Ca

        ค. พลังงานไอออไนเซชั่นของธาตุออกซิเจน

        ง. พลังงานการสลายพันธะของธาตุออกซิเจน

6. พิจารณาวัฏจักร Born-Haber สำหรับการเกิดเฮไลด์ของธาตุสมมติ A(AXn)

      a.  X2 (s) ----> X2 (l)                                                       ∆H1 

      b.  X2 (l) ----> X2 (g)                                                      ∆H2

      c.  X2 (g) ----> 2X (g)                                                      ∆H3

      d.  X (g) + e- ----> X- (g)                                                 ∆H4

      e.  A (s) ----> A (g)                                                          ∆H5

      f.   A (g) ----> An+ (g) + ne-                                            ∆H6 

      g.  An+ (g) + nX- (g) ----> AXn (s)                                 ∆H7 

ถ้าพบว่า A (s) + n/2 X2 ----> AXn (s) มีค่า  ∆H = ∆H2 + ∆H3 + 2∆H4  + ∆H5 + ∆H6 + ∆H7

สารประกอบ AXn ควรเป็นข้อใด   

ก. CaCl3

ข. CaBr2

ค. AlCl3

ง. AlBr3

7. การเกิดสารประกอบ Na2O เกี่ยวข้องกับพลังงานในขั้นตอนต่างๆดังนี้

      (I)   Na (s) ----> Na (g)                                                     ∆H = E1  kJ

      (II)  Na (g) ----> Na+ (g) + e-                                           ∆H = E2  kJ

      (III) O2 (g)  ----> 2O (g)                                                   ∆H = E3  kJ

      (IV) O (g) + 2e- ----> O2- (g)                                           ∆H = E4  kJ

      (V)  2Na+ (g) + O2- (g) ----> Na2O (s)                            ∆H = E5  kJ

จากข้อมูลนี้ข้อใดผิด

        ก. E2 มีค่ามากกว่า IE1 ของ 19K

        ข. ขั้นที่ IV และ V เป็นขั้นตอนที่คายพลังงาน

        ค. ขั้นที่ I , II , III เป็นขั้นตอนที่ดูดพลังงาน

        ง. พลังงานแลตทิชมีค่าเท่ากับ E1 + 2E2 + E3/2 + E4 + E5

8. ข้อใดไม่ใช่สมการที่อยู่ในวัฏจักรพลังงานการละลายน้ำของ NaNO3 (s) 

        ก. NaNO3 (s) ----> Na+ (g) + NO3- (g)

        ข. Na+(g) ----> Na+ (aq)

        ค. NO3- (g) ----> NO3- (aq)

        ง. NaNO3 (g) ----> Na+ (g) + NO3- (g)

9. โมเลกุลในข้อใดมีโครงสร้างเหมือนกันทั้งหมด 

        ก. CO2  SO2  CS2

        ข. NH3  PH3  SO3

        ค. CO2  N2  N3-

        ง. CCl4  (SO4)2- XeF4

10. สารประกอบโคเวเลนต์ ข้อใดมีรูปร่างเหมือนกันทั้งหมด

        ก. CCl4  NH4+  XeF4

        ข. BF3  NH3  PCl3

        ค. BrF5  PCl5  IF5

        ง. H2O  SO2  O3 

💖เฉลย

1. เฉลย ก. เพราะ ประจุแต่ละชนิดจะต้องผลักกันตามหลักของขั้ว

2. เฉลย ก. เพราะ สารประกอบปรอทสามารถมีสูตรเป็น Hg2Cl2 , Hg2I2 ได้

3. เฉลย ข. เพราะ 1.ประจุที่สูงกว่าจะทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวได้มากกว่า จุดหลอมเหลวจึงสูงกว่า                      

                             2. ขนาด O2- ที่ใหญ่กว่า F- ทำให้โครงร่างผลึกห่างจากกันมากแรงยึดเหนี่ยวจะอ่อนลง ไม่ได้ทำให้จุดหลอมเหลวของ MgO สูงกว่า NaF

4. เฉลย ก. เพราะ การนำไฟฟ้าของไอออนิกเป็นการเคลื่อนที่ของไอออน ไม่ใช่การถ่ายเทอิเล็กตรอน

5. เฉลย ค. เพราะ Ca (s) + 1/2O2 ---->  CaO (s) พลังงานในการเกิดมี 5 ขั้นตอน พลังงานไอออไนโซชันเกิดกับธาตุ Ca ไม่เกิดกับธาตุออกซิเจน

6. เฉลย ข. เพราะ จากสมการรวมทั้งหมด (∆H)  ไม่เกี่ยวข้องกับ ∆H1 แสดงว่า X ต้องเป็นของเหลวในที่นี้คือ Br2 และจากสมการ d ต้องใช้พลังงานเท่ากับ 2 ∆H4 แสดงว่า Br ต้องมี 2 อะตอม 

7. เฉลย ง. เพราะ พลังงานแลตทิช มีค่าเท่ากับ E5

8. เฉลย ง. เพราะ ข้อ ก. เป็นปฏิกิริยาแสดงพลังงานแลตทิช 

    ข้อ ข , ค เป็นปฏิกิริยาไฮเดรชันของไอออนบวกและไอออนลบ

    ข้อ ง. ผิดเพราะ NaNo3 ต้องมีสถานะของแข็งไม่ใช่แก๊ส

9.  เฉลย ค. เพราะ ทุกตัวมีรูปร่างเป็นเส้นตรง

10.เฉลย ง. เพราะ  ทุกตัวเป็นรูปมุมงอ